เข้าร่วม MultiplyOpen a Free Shopลงชื่อเข้าใช้งานวิธีใช้English
MultiplyLogo
SEARCH
10  กันยายน 2553

เด็กๆปฐมธรรมได้ไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ดนตรีไทยกันที่มูลนิธิหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ถ้าใครได้ดูหนังเรื่อง โหมโรง ก็คงจำพระเอกของเรื่อง "นายศร" ได้ ซึ่งจริงๆแล้วก็คือ ศร ศิลปบรรเลง หรือ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ค่ะ 

มูลนิธิหลวงประดิษฐ์ไพเราะอยู่บนถนนเศรษฐศิริ ใกล้สถานีรถไฟสามเสน อยู่ด้านหลังของร้านอาหารบรรเลง พอเดินเข้าไปแล้วเราก็พบกับเรือนไม้เก่าใต้ถุนสูงสีเขียวดูอบอุ่นหลังนี้ 


อาจารย์มาลินี สาคริก หรือป้าอี๊ดมาทักทายกับเด็กๆ และชวนกันไปนั่งคุยกันที่ใต้ถุน 


ป้าอี๊ดเล่าว่า ศร ศิลปบรรเลงนั้นเป็นคุณตาของป้าอี๊ด  เมื่อตอนที่ท่านอายุ 19 ได้เล่นระนาดถวายสมเด็จวังบูรพา (สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช)  ได้ถูกพระทัยมา ท่านจึงรับตัวเข้ามาอยู่ในวังมีตำแหน่งเป็น จางวางศร  พร้อมทั้งจัดหาครูมาสอน คือ ครูแปลก(พระยาประสานดุริยศัพท์) ซึ่งครูแปลกมีฝีมือทางดนตรีไทยมาก เคยไปเดี่ยวขลุ่ยถวายสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียที่พระราชวังบัคกิ้งแฮม ท่านถึงกับรับสั่งถามว่า “เวลาเป่านั้นหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลา”



ฝีมือการเล่นระนาดเอกของจางวางศรในสมัยนั้นไม่มีใครเทียบได้ จนท่านได้รับคัดเลือกมาเล่นระนาดเอกใน วงปี่พาทย์ฤาษี ซึ่งเป็นวงปี่พาทย์ชุดพิเศษส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งล้วนเป็นครูดนตรีที่มีฝีมือสุดยอดในแต่ละทาง 


จนมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 6 จางวางศรก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงประดิษฐ์ไพเราะ

ในระหว่างนั้นเอง ครูตั๊ก (อาจารย์ชนก สาคริก) ก็เข้ามาร่วมวงด้วย ครูตั๊กคุยกับพวกเราถึงความสำคัญของดนตรีไทย ว่าดนตรีไทยนั้นทำให้จิตใจอ่อนโยน เป็นเครื่องห่อหุ้มคุณค่า จริยธรรม ครูตั๊กไม่ได้เพียงแต่สอนทักษะดนตรีไทย แต่ยังสอนถึงมารยาท คุณค่า และจริยธรรม น่าเสียดายที่ดนตรีไทยไม่ได้ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนของเรา ทำให้คนในปัจจุบันนั้น กระด้าง!


แต่ครูสุก็รีบเรียนอาจารย์ทันทีว่า เด็กๆได้เรียนดนตรีไทยนะคะ อยู่ในหลักสูตรบ้านเรียนที่เราทำขึ้น ธีธัชก็ได้เรียนระนาดตั้งแต่อนุบาลแล้ว พอขึ้นประถม1 ก็ได้เรียนขิม  

จากนั้นครูตั๊กก็สอนว่า เครื่องดนตรีไทยนั้นมี 4 ประเภท การที่จะเลือกเล่นนั้นควรมีการตรวจสอบว่าเรามีทักษะด้านไหนเป็นพิเศษ
1 เครื่องดีด ต้องมีนิ้ว และหูที่ดี เช่น ซอ ไม่มีตำแหน่งที่ชัดเจนในการวางนิ้ว ต้องอาศัยการฟังว่าเสียงถูกต้องหรือไม่
2 เครื่องสี ต้องมีนิ้ว และหูที่ดี 
3 เครื่องตี ต้องมีตา และมือที่ดี 
4 เครื่องเป่า ต้องมีลม และนิ้วที่ดี

แล้วครูตั๊กก็ทดสอบความตาไวของเด็กๆ ด้วยการเล่นกลให้ดูว่าเด็กๆจับผิดได้มั้ย จับผิดกันไม่ได้ซักคนค่ะแต่เด็กๆสนุกกันใหญ่ 




จากนั้นก็มีพี่ตอง ซึ่งกำลังศึกษาปริญญาโทเกี่ยวกับดนตรี และพี่อัญซึ่งเป็นเพื่อนพี่ตอง มาช่วยพาเด็กๆไปชมพิพิธภัณฑ์ซึ่งอยู่ชั้นบน 

 

จากนั้นพี่่ตองพาเข้าไปดูรูปของ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ


ส่วนพี่อัญก็ชวนเด็กๆฟังแผ่นเสียงวงดนตรีปีพาทย์สมัยรัชกาลที่ 5 ถึงแม้เสียงจะไม่ชัด แต่ก็มีความรู้สึกเหมือนเราย้อนอดีตได้เลยค่ะ


นี่เป็นโน้ตดนตรีลายมือของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ท่านใช้ตัวเลขแทนโน้ตค่ะ


นี่เป็นรางระนาดของท่านค่ะ


แล้วพี่อัญก็ชวนน้องๆมาเล่นขิมเหล็ก ซึ่งมีไว้สำหรับให้คนที่หัดเล่นขิมฝึกค่ะ ไม่งั้นสายขาดบ่อย


แล้วเด็กๆก็อวดฝีมือเล่นขิมเหล็กกันใหญ่เลย


จากนั้นคุณครูให้เวลาเด็กๆแยกย้ายบันทึกภาพ 




วันนี้น้องกันบันทึกได้ดีเลยค่ะ


ในช่วงหลังป้าอี๊ดขึ้นมาสมทบอธิบายให้เด็กๆฟังเพิ่มเติม


พอน้องมดตะนอยทำท่าตั้งวงให้เหมือนในรูปของป้าอี๊ดตอนสาวๆ ป้าอี๊ดก็ให้เกียรติตั้งวงกับน้องมดด้วยค่ะ


ก่อนที่เราจะไปทานข้าว ครูตั๊กอวดโปรแกรมหัดเล่นระนาดที่ท่านเป็นผู้ออกความคิด ให้พวกเราดูอย่างภูมิใจค่ะ สามารถเลือกเพลง และเปลี่ยนจังหวะช้าเร็วได้ด้วย นอกจากนี้ครูตั๊กยังเป็นคิดประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนดนตรีที่ทันสมัย เช่น ฉิ่งไฟฟ้า ซอฟต์แวร์สำหรับฝึกเรียนตีขิม และอุปกรณ์อีเล็คทรอนิคที่ช่วยตีฉิ่งและตีกลองให้กับนักดนตรีไทย 


สำหรับอาหารเที่ยง เราตั้งวงกันที่ใต้ถุนเรือนไม้กันเลยค่ะ


เมนูยอดฮิตวันนี้คือ ยำปลากระป๋อง ของเม็กก้าค่ะ มีเพื่อนๆรุมช่วยกินกันเยอะเชียว


วันนี้เราได้สัมผัสและประทับใจในความผูกพันกับดนตรีไทย และความพยายามที่จะอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยเพื่อลูกหลาน ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ชนกและอาจารย์มาลินี สาคริก ค่ะ

ดูรูปที่เหลือได้ที่ http://mamaaor.multiply.com/photos/album/86

ข้อมูลเพิ่มเติม

เว็บไซต์ของครูตั๊ก(อาจารย์ชนก สาคริก) : http://www.chanoktuck.com/
Download โปรแกรมระนาดเอก : http://www.thaikids.com/ranad/chap5/fc5s4p1.htm
ประวัตินักระนาดเอกเพิ่มเติม : http://www.culture.go.th/knowledge/story/ranad/chap6/fc6s6p1.htm

ppmantana wrote on Sep 30, '10
ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้มากมาย
เพิ่มความเห็น