เข้าร่วม MultiplyOpen a Free Shopลงชื่อเข้าใช้งานวิธีใช้English
MultiplyLogo
SEARCH
รายการบล็อกAug 9, '11 11:12 PM
สำหรับ ทุกคน
5 สิงหาคม 2554

บล็อกครั้งนี้คัดลอกมาจาก บทความของแม่มุกซึ่งเขียนไว้ในเว็บบอร์ดพันธุ์ทิพย์ค่ะ แต่ใช้รูปจากทั้งกล้องแม่มุกและแม่อ้อค่ะ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สวัสดีค่ะ

ไม่ได้ลงกระทู้เสียนาน แต่วันนี้ตั้งใจค่ะ ตั้งใจว่าจะเอารูปของเด็กๆ กลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมมาโชว์ให้คุณพ่อคุณแม่ในนี้ได้เห็นว่าเด็กกลุ่มเล็กๆ เรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง

องค์นี้เด็กๆ เรียกเกี่ยวกับเรื่องของสังคม โดยมีหัวข้อเรื่องเกี่ยวกับอาชีพดั้งเดิมของคนไทยเป็นแกนหลัก มีทั้งโครงงานใหญ่ที่ต้องทำและรวมไปถึงการออกไปเรียนรู้นอกสถานที่ด้วย วันศุกร์ที่ผ่านมามุกได้มีโอกาสตามเด็กๆ ไปที่ไร่ของหมอกิจ ซึ่งเป็นไร่ออแกนนิคและทำเกษตรกรรมโดยยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียง 

เด็กๆ อยู่ที่นี่ตั้งแต่ก่อนเก้าโมงเช้าจนถึงบ่ายสามโมงถึงได้กลับ แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่คุ้มค่ามากๆ เพราะทั้งเด็กและแม่ๆ ที่ตามไปเรียนรู้ร่วมกับลูก ก็ได้รับความรู้หลายๆ อย่างที่ควรจะเป็นความรู้รอบตัวของเรา แต่เราคงจะลืมมันไปนานแล้ว

เนื่องจากเด็กๆ ของเราส่วนใหญ่ก็เกิดมาในยุคที่มีเทคโนโลยีพร้อมสรรพ มีความโชคดีในหลายๆ ด้าน มีทั้งความสุขสบาย และไม่ค่อยได้เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตของเกษตรกรซักเท่าไหร่ คุณครูก็เลยอยากให้เด็กๆ ได้ลองสัมผัสดูบ้างว่า กว่าผัก ผลไม้ แต่ละชนิดจะเติบโตได้นั้นต้องอาศัยเวลา แรงกาย และความรู้ไม่ใช่น้อย และอยากให้เด็กๆ เห็นคุณค่าของอาหารทุกมื้อที่รับเข้าไปค่ะ

เรามาเริ่มต้นกันเลยนะคะ

วันนี้ถึงแม้คุณหมอจะไม่อยู่ แต่ก็ได้พี่แจ๊คมาเป็นวิทยากรที่ลงรายละเอียดได้เยอะและได้ลึก แถมยังใจดีสุดๆ เลยค่ะ

พี่แจ็คกำลังแนะนำตัวค่ะ


หลังจากนั้นก็ไม่รอช้าค่ะ รีบแจกอุปกรณ์ให้กับเด็กๆ เลยทำให้รู้ว่าลูกๆ เราไม่ค่อยมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับเครื่องมือเกษตรจริงๆ นั่นแหละ แต่วันนี้จะไม่ใช่แค่ได้รู้จัก แต่จะได้ลงมือใช้จริงๆ

ชุณฬี่ ชาวสวนตัวน้อยพร้อมแล้วค่ะ



พี่แจ๊คเริ่มต้นจากสิ่งที่เด็กๆ รู้จักดีที่สุด ก็คือการปลูกกล้วย


ทำให้ได้ความรู้ไปด้วยว่า กล้วยต้องการดินร่วน และควรทำแอ่งรอบๆ ให้มีน้ำขังเพื่อให้มีน้ำมากเพียงพอที่จะเลี้ยงให้ต้นกล้วยใหญ่ (เคยสังเกตุเหมือนกันว่าชาวสวนมักปลูกกล้วยใกล้ๆ กับแหล่งน้ำ) และควรจะรอให้หน่อกล้วยใหม่โตเพียงพอที่จะนำมาเพาะปลูก


เราปลูกกล้วยใช้เวลาประมาณ 8 เดือน (แบบไม่มีสารเร่งนะคะ) ก็สามารถได้ผลทานแล้วค่ะ


ภาพนี้พี่แจ็คกำลังสอนให้น้องๆ ถางหญ้าออก และพรวนดินให้ร่วนซุย



หลังจากนั้นก็เอาเปลือกข้าวโรยใส่เพื่อเพิ่มอาหารในดิน




หลังจากเด็กๆ ได้เหงื่อชุ่มตั้งแต่เช้าจากการถางหญ้า พรวนดิน เติมอาหารให้กับต้นกล้วยแล้ว พี่แจ็คก็ได้พาเด็กๆ มาเรียนรู้เรื่องพืชผักสวนครัวต่อ ไม่ว่าจะเป็นชะอม ถั่วพลู ใบชะพลู โหระพา พริก กระเพรา ตะไคร้หอม ตะไคร้บ้าน และอื่นๆ อีกมากมายค่ะ





แต่แล้วเด็กๆ ก็ได้เห็นเจ้าตัวปาดที่มาเกาะอยู่ตรงใบกล้วยด้วย ทำให้พี่แจ็คได้สอนถึงประโยชน์ของการพึ่งพาอาศัยทางธรรมชาติ และบังเอิญมีนางพญามดมาเกาะอยู่ใกล้ๆ ตรงนั้น ทำให้พี่แจ็คหยิบเอามาและเล่าถึงเรื่องของชีวิตมดไปด้วย เด็กๆ ตื่นเต้นดีค่ะที่ได้รู้ว่า นางพญามดถึงจะตัวใหญ่แต่ก็ไม่กัดคนนะ


เด็กๆ กำลังตั้งอกตั้งใจฟังเรื่องการปลูกผักกวางตุ้งอยู่ค่ะ


หลังจากนั้นก็เป็นการลงมืออีกครั้ง นั่นคือการเตรียมดินเพาะปลูกค่ะ


ส่วนใหญ่สมัยนี้เวลาที่เราไปซื้อหามันจะเป็นดินผสมสำเร็จหมดแล้ว แต่ครั้งนี้เด็กๆ จะได้เรียนรู้ขั้นตอนในการผสมจริงๆ ซึ่งก็มีรายละเอียดคร่าวๆ ดังนี้ค่ะ

1. ดินร่วนหนึ่งส่วน (เช่น 1 กระถางพลาสติก)
2. ขี้เถ้าแกลบหนึ่งส่วน
3. ขุยมะพร้าวแห้งหนึ่งส่วน
4. ใบไม้แห้งหนึ่งส่วน
5. ขี้วัวแห้งหนึ่งส่วน



ขั้นตอนแรกเด็กๆ จะต้องทำให้ดินร่วนเสียก่อนค่ะ เนื่องจากเด็กๆ ยังไม่มีประสบการณ์ เวลาทุบดินก็ไม่ค่อยระวัง ทำให้มีดินเข้าตากันบ้างค่ะ



เนื่องจากแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ผสมกันระหว่างพี่ป.4 พี่ป.2 และน้องป.1 พี่โตก็เลยมีหน้าที่เป็นคนตักส่วนผสมมาวางให้น้องๆ ค่ะ สิ่งสำคัญก็คือเวลามาเทจะต้องทำให้เหมือนเป็นแซนวิชหรือเค้กที่วางให้เป็นชั้นๆ



เริ่มสนุกแล้วค่ะ เพราะตอนแรกๆ เด็กๆ ก็ยังมี อี๋ๆ กันบ้าง ด้วยกลิ่นด้วยความเปื้อน แต่ทำๆ ไปก็มันส์ดีค่ะ


ที่น่ารักก็คือ พอเด็กๆ เห็นว่าทำเป็นชั้นๆ ก็เริ่มร้องเพลง Happy Birthday กันอย่างสนุกสนาน หาเทียนมาปักเสร็จสรรพ


เสร็จแล้วก็ได้กระถางปลูกคนละสามกระถาง ทุกคนตักดินใส่กระถางของตัวเองค่ะและรอเพื่อฟังวิธีปลูกพืชแต่ละชนิดต่อไป


ในสามกระถางนี้ พี่แจ็คให้แบ่งเป็น

1. ว่านหางจระเข้ ปลูกร่วมกับผักโสม


2. กระเพรา กับ สาระแหน่


3. คะน้ากับกวางตุ้ง


ที่ฮาก็คือ หลังจากเด็กๆ ปลูกเสร็จ คุณแม่คนนึงก็เข้าไปถามเพื่อดูว่าเด็กๆ เก็บข้อมูลกันจริงหรือไม่ พอชี้ว่าผักชี้คืออะไร เด็กๆ ก็พร้อมใจกันตอบว่า

สาระแน แม่ๆ ก็ขำกันกลิ้งค่ะ ไม่รู้ว่ามันไอ้แสบๆ มันแอบว่าหรือว่ามันเรียกผิดจริงๆ



เที่ยงพอดีค่ะ ถึงเวลาเติมพลังแล้ว ทางไร่ได้เตรียมอาหาร น้ำแกงตำลึง ผักผักน้ำมันหอย และผักุว้นเส้นค่ะ


อยากจะบอกว่า ผักอร่อยมาก ฝีมือพ่อครัวก็ดีค่ะ ใครว่างเชิญแวะมาได้นะคะ เป็นร้านอาหารเล็กๆ อยู่ด้านหลังโตโยต้า พุทธมณฑลสาย 5 ค่ะ


หลังจากที่เหนื่อยมากกับการเพาะปลูกคอร์สเล็กๆ เด็กๆ ก็ได้เติมพลังกันไปเรียบร้อยและไม่ลืมที่จะ...เล่นกันต่ออย่างสนุกสนาน




วันนี้คุณครูให้เล่นกันอยู่เกือบครึ่งชั่วโมงค่ะ เพราะเห็นว่าเด็กๆ กำลังสนุก และควรได้มีเวลา relax บ้าง ทั้งพี่ทั้งน้องทั้งคุณครู เล่นกันแบบลืมเหนื่อยเลย


เสร็จแล้วก็ถึงเวลาเรียนกันต่อ พี่แจ๊คพาไปดูวิธีทำปุ๋ยหมักชีวภาพค่ะ อันนี้กลิ่นแรงมาก แต่ก็ดีตรงที่พี่แจ็คนำเอาเศษอาหารทั้งหมดที่เด็กๆ กินเหลือจากมื้อเที่ยงมาสาธิตให้ดูของจริง


วิธีทำปุ๋ยหมักก็จะใช้พวกเศษอาหาร พสมกับกากน้ำตาล และสารพด.2 ซึ่งเป็นสารเร่งที่มีจุลินทรีย์หลายตัวทำหน้าที่ย่อยสลายอาหาร แต่แย่หน่อยค่ะ ข้อมูลหลังจากนี้มุกแทบจะไม่ได้จดแล้วเพราะมัวแต่ถ่ายรูปเพลินค่ะ


เสร็จแล้วพี่แจ๊คพามาดูคอนโดไส้เดือนและสอนให้เด็กๆ รู้ว่าไส้เดือนมีประโยชน์ต่อเกษตรกรแค่ไหนบ้าง นอกจากนี้ยังได้ความรู้เกี่ยวกับวงจรชีวิตไส้เดือนด้วยนะคะ


เช่นไส้เดือนออกลูกเป็นไข่ ในไข่ 1 ฟอง มีลูกสองตัว ไส้เดือนหนึ่งตัวออกไข่ได้ประมาณ 60 ฟอง ไส้เดือนเป็นสัตว์สองเพศ เวลาผสมพันธุ์กัน ก็ต้องมีตัวหนึ่งยอมเป็นตัวเมีย อีกตัวยอมเป็นตัวผู้ค่ะ


ยัยชุณกำลังถือไส้เดือนไว้ในมือ ดำๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวไส้เดือนคือพวกขี้ไส้เดือนค่ะ


พีีแจ็คสอนเด็กๆ ให้เอามะละกอฝังดินลยค่ะเพื่อเป็นอาหารของไส้เดือน ก่อนจะบอกให้เด็กๆ ถอยออกมาให้ห่างเพราะถ้าเราเฝ้าดุไส้เดือนจะไม่กินอาหารค่ะ มันขี้ตกใจได้ง่าย


จด จด และ จดค่ะ


เสร็จแล้วก็ไปเรียนเรื่อง การเลี้ยงไก่แบบโรงเรือนปิดต่อค่ะ ทำให้ได้รู้ว่า ไก่เนื้อที่เราทานๆ กันนั้น ใช้เวลาประมาณ 45 วันก็เอามาเชือดได้แล้วค่ะ เด็กๆ ก็ถามพี่เค้าใหญ่ว่า พอ 45 วันก็ต้องฆ่าเลยจริงๆ ใช่มั้ย พี่แจ๊คก็บอกว่าใช่ บางคนก็หน้าแหยๆ ค่ะ คงเพราะเห็นไก่จริงๆ แบบมีชีวิตอยู่จริงๆ


ราคาไก่หน้าฟาร์มนี่ 32-41 บาทต่อกิโลค่ะ แล้วน้ำหนักที่เหมาะสมที่จะขายก็คือ 2.4-2.7 กิโลต่อตัวค่ะ


มาถึงส่วนสุดท้ายแล้วก็คือขั้นตอนการปักชำตอนกิ่ง ซึ่งต้องอาศัยผู้ใหญ่ช่วยด้วย แต่เด็กๆ ก็ดูตื่นเต้นดีค่ะ เพราะเป็นอะไรที่ไม่เคยทำมาก่อน


ขั้นตอนนี้ละเอียดและยาก ทำให้ต้องอาศัยการจดจำและเรียนรู้ ก็เลยต้อง จด จด จด




ว่าแล้วก็แอบดูว่าเด็กๆ จดอะไรกันบ้างค่้ะ อันนี้ของพี่ป.4


อันนี้ของยัยชุณฬี่ น้องป.1 ค่ะ เทคนิคของการเรียนแบบนี้คือ ทุกครั้งที่ไปทัศนศึกษาเด็กๆ จะต้องฟังวิทยากรและจดรายละเอียดลงไป ไม่ว่าจะเป็นการจดตัวอักษร หรือ วาดภาพ หรือสัญลักษณ์แทนก็ได้ แต่สำคัญคือต้องมีความกล้าที่จะจดลงไป ถูกผิดไม่สำคัญค่ะ ค่อยไปแก้เอาทีหลังก็ได้ เพราะหลังจากกลับไป คุณครูจะทำการสรุปใบงานร่วมกับเด็กๆ อีกที


เสร็จแล้วค่า ขอบคุณพี่แจ๊คผู้ใจดีที่สอนความรู้ให้กับเด็กๆ ด้วย และยังสัญญาว่าเมื่อไหร่ที่แปลงเกษตรของเด็กๆ พร้อมแล้ว จะขอเชิญพี่แจ๊คมาให้ความรู้เพิ่มเติมค่ะ


ดูรูปที่เหลือได้ที่ http://mamaaor.multiply.com/photos/album/102/102

43281 wrote on Aug 11, '11
อยากไปบ้าง ทำอย่างไรค่ะ
เพิ่มความเห็น