เข้าร่วม MultiplyOpen a Free Shopลงชื่อเข้าใช้งานวิธีใช้English
MultiplyLogo
SEARCH
รายการบล็อกNov 22, '10 3:14 AM
สำหรับ ทุกคน
19 ตุลาคม 2553

ช่วงปิดเทอมเดือนตุลาคมนี้ การบ้านของพี่ธีธัชคือ หาข้อมูลแมลงมา 3 ตัว อธิบายลักษณะ โครงสร้าง และวงจรชีวิต แม่หุยและแม่หลินเป็นต้นคิดชวนกันไปทำการบ้านที่ อุทยานแมลง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน โดยมีแม่หลินใจดีเอื้อเฟื้อรถตู้หนึ่งคันพร้อมคนขับ และแม่หลินขับให้อีกคันหนึ่ง แล้วเด็ก 10 คน และผู้ใหญ่ 5 คนก็ออกเดินทางไปนครปฐม

วันนี้เราได้พี่จิ๊ด...เป็นวิทยากรใจดี เราเริ่มต้นที่ ผึ้งชันโรง เป็นผึ้งตัวเล็ก ไม่มีเหล็กไน ทำรังแบบมีท่อยื่นออกมาจากรัง เพื่อให้อุณหภูมิคงที่ เนื่องจากไม่มีเหล็กไนเป็นอาวุธ เวลาถูกรบกวนผึ้งชันโรงจะบินมาุมแล้วปล่อยยางเหนียวๆใส่ศัตรู  ความสำคัญของผึ้งชันโรงคือ เป็นผึ้ที่ทำหน้าที่ผสมเกสรได้ดีเยี่ยม เนื่องจากมันไม่เลือกชนิดของดอกไม้ จึงมีการเพาะพันธุ์เพื่อนำไปแจกเกษตรกรที่ปลูกผลไม้

ในรูปข้างล่าง กล่องสี่เหลี่ยมขาวๆที่อยู่หน้าพี่จิ๊ด คือบ้านของผึ้งชันโรง ในนั้นมีผึ้งเต็มเลยค่ะ 


จากนั้นก็เข้าไปดูแมลงกันในโดมแมลงอุทยานแมลงเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งสูง 20 เมตร เส้นผ่าศุนย์กลาง 40 เมตร ข้างในจำลองระบบนิเวศน์ป่าชื้นเขตร้อน


ในโดมนั้นมีต้นไม้เต็มไปหมดเลยค่ะ โดยต้องมีการปลูกไม้ดอกเพื่อเป็นอาหารและสำหรับให้ผีเสื้อวางไข่ ซึ่งผีเสื้อแต่ละชนิดก็จะวางไข่บนใบไม้ต่างชนิดกัน 


เราเดินเข้าไปดูโดมอันเล็กซึ่งอยู่ในโดมยักษ์อีกทีหนึ่ง ในโดมนี้มีพระเอกที่ต้องดูแลเป็นอย่างดี คือ ตั๊กแตนกิ่งไม้ ใครเห็นบ้างคะ...ที่ธีธัชชี้อยู่นั่นน่ะค่ะ


เอ้า...ซูมให้ดูใกล้ๆ


ตั๊กแตนกิ่งไม้ ไม่มีพิษ ไม่มีเหล็กไน เคลื่อนไหวช้า บอบบาง..ขาหลุดง่าย ไม่มีขากระโดด ไม่สามารถสู้รบตบมือกับใครเค้าได้ ดังนั้นวิธีเอาตัวรอดก็คือ การพรางตัวให้เหมือนกันกิ่งไม้ และที่ต้องอยู่ในโดมเล็กอีกทีเพราะมักจะมีหนูเข้ามาจับกิน เลยต้องเอาโดมเล็กครอบไว้อีกที ขนาดนี้แล้ว..เจ้าหนูก็ไม่ยอมแพ้ค่ะ พยายามกัดมุ้งลวดเข้ามาให้ได้อีก เค้าเลยต้องมีกรงดักหนูเอาไว้ที่ใต้ต้นไม้เลยล่ะค่ะ


พี่วิทยากรเล่าว่า ตั๊กแตนกิ่งไม้วางไข่โดยการหย่อนไข่ลงไปในดิน มีวงจรชีวิตแบบไม่สมบูรณ์ คือ ไม่มีระยะดักแด้ มีแต่ระยะ ไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ถ้าขาของมันขาดไปในช่วงตัวอ่อน ขาใหม่ก็จะถูกสร้างขึ้นมาในจังหวะที่มันลอกคราบ  แต่ถ้าเมื่อไหร่มันเป็นตัวเต็มวัยแล้วก็จะไม่สามารถสร้างขาใหม่ขึ้นมาได้อีก อาหารของตั๊กแตนกิ่งไม้ ได้แก่ มะยมป่า ใบฝรั่ง ใบลำไย ใบเงาะ


แล้วเราก็ชวนกันเดินขึ้นไปบนทางเดินด้านบน
 

ซึ่งเราได้เห็นผีเสื้อกำลังผสมพันธุ์กันด้วยค่ะ


จากนั้นเราก็เข้าไปในส่วนของพิพิธภัณฑ์ซึ่งมีการจัดแสดงแมลงต่างๆไว้เยอะเชียวค่ะ 


คุณแม่เลยให้เด็กๆเดินดูและเลือกแมลงที่ชอบมา 3 ชนิด 


เด็กๆก็แยกย้ายกันไปจดชื่อ ข้อมูล และวาดรูป




ธีธัชเลือก ตั๊กแตนกิ่งไม้ มวนพิฆาต(สงสัยว่าจะชอบชื่อเป็นพิเศษ) และแมลงแมงป่อง แต่เนื่องจากข้อมูลไม่ครบตามที่คุณครูอยากได้ พวกเราเลยต้องไปค้นต่อใน Google ได้รูปและข้อมูลมาเต็มเลย

สำหรับตั๊กแตนกิ่งไม้ ธีธัชสรุปจากสิ่งที่บันทึกจากทัศนศึกษา ก็สรุปได้เป็น



มวนพิฆาต




แมลงแมงป่อง เป็นแมลงที่มีหางชูขึ้นมาคล้ายแมงป่อง แต่ไม่มีพิษ



ทั้ง 3 ชิ้นงาน ใช้เวลาแต่ละชิ้นไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมงค่ะ แม่อ้องัดทุกมุข...ทั้งขู่ ทั้งปลอบ ทั้งให้กำลังใจ เพื่อให้สละเวลาเล่นมาทำงาน   ชิ้นแรก...ตั๊กแตนกิ่งไม้ แม่ลูกช่วยกันสรุป  แต่แมลงแมงป่อง แม่พิมพ์ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตออกมาให้ โยนปากกาไฮไลท์ให้อันหนึ่ง ธีธัช..หนูสรุปเองนะ ธีธัชก็บ่นเล็กน้อย แต่ก็สนุกกับการเอาปากกาไฮไลท์ขีดทับส่วนที่สำคัญ แล้วค่อยถ่ายทอดออกมาในชิ้นงาน  ภูมิใจ๊...ภูมิใจ

สุดท้ายขอขอบคุณแม่หลินสำหรับน้ำใจที่ไม่มีวันหมด แม่หุยสำหรับกิจกรรมดีๆอย่างนี้ ขอบคุณค่ะ

ดูรูปที่เหลือได้ที่ http://mamaaor.multiply.com/photos/album/89



เพิ่มความเห็น